เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

อั้วเขียวไพร

Peristylus iyoensis Ohwi
Habenaria iyoensis (Ohwi) Ohwi ex C.S.Lee & N.S.Lee; Habenaria iyoensis (Ohwi) Ohwi ex Chin S.Chang, H.Kim & K.S.Chang; Pecteilis iyoensis (Ohwi) M.A.Clem. & D.L.Jones; Habenaria minor Fukuy. ex Masam.; Habenaria rupestris T.P.Lin & T.W.Hu; Habenaria taiwaniana T.P.Lin
-
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้ดิน สูง 10-30 ซม. มีหัวใต้ดิน ใบ จำนวน 4-6 ใบ ออกที่โคนลำต้น แผ่นใบรูปหอก กว้าง 1.2-2.5 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม ช่อดอก ออกที่ปลายยอด แบบช่อกระจะห่าง จำนวน 3-20 ดอก ดอก บานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. สีเขียวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงกลางรูปไข่ถึงรูปรี ขอบกลีบเรียบ กลีบเลี้ยงคู่ข้าวรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก ปลายกลีบแหลมถึงมน กลีบดอกรูปแถบกว้างเชื่อมติดกับกลีบเลี้ยงกลาง กลีบปากแยเป็น 3 พู หูกลีบปากรูปทรงกระบอก ทำมุมตั้งฉากกับพูกลีบปากกลาง มีเดือยใต้กลีบปากรูปทรงกระบอก ชี้มาทางด้านหน้า ความยาวใกล้เคียงกับรังไข่
Terrestrial, 10 - 30 cm long; tuberous herb. Leaves 4 - 6, basal, lanceolate, 1.2 - 2.5 cm wide, 8 - 14 cm long, apex mucronate. Inflorescence terminal, laxly racemose, 3- to 20-flowered. Flowers 1.5 - 2 cm across, yellowish-green; dorsal sepal ovate to elliptic, margin entire; lateral sepals elliptic to lanceolate- oblong, apex acute to obtuse; petals broadly linear, cohering with dorsal sepal; lip 3-lobed, sidelobes cylindrical, forming a right angle with the midlobe; spur cylindrical, pointed forward, as long as ovary.
พบตามป่าเปิดในพื้นที่เขาหินปูนทางภาคเหนือที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลออกดอกช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม. การกระจายพันธุ์: เนปาล ไต้หวัน ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี และทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น
Open areas in limestone forest in Northern Thailand; ca.1,000malt.FloweringinSeptember - October. Distribution: Nepal, Taiwan, South Korea and South Japan.
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

1003 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: