เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Nov 2015

ปอกระสา

Broussonetia papyrifera (L.) Vent.
ฉำฉา หมูพี ชำสา ชะดะโค เซงซะ ปอฝ้าย ส่าแหล่เจ สายแล หมอมี Paper Mulberry
MORACEAE
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร กิ่งอ่อนเปราะ ลำต้นเปลา เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ลอกออกได้เป็นเส้นยาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง ผิวใบสากคาย ขอบจัก ใบแก่จะเว้าลึกใกล้โคนใบ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า ขนาดกว้าง 5-15 ซม. ยาว 7-20 ซม. ก้านใบยาว 4-13 ซม. ดอกแยกเพศและแยกต้น ดอกเพศเมียเป็นช่อลักษณะเป็นก้อนกลมสีแดงแกมเหลือง ขนาดผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม. ดอกเพศผู้ออกเป็นแกนช่อ ห้อยลง สีขาว ยาว 4-8 ซม. ผลมีลักษณะเป็นทรงกลมสีแดงสด เมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก
มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของประเทศพม่าและไทย ชอบขึ้นตามริมน้ำและที่ชื้น ในป่าที่ค่อนข้างโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูง 50-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เปลือกใช้ทำกระดาษสา ใช้ในงานศิลปะต่างๆ เมล็ดเป็นอาหาราของนกและกระรอกได้ดี
-

หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden

-

9390 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: