เผยแพร่เมื่อ/created date: -

ก่วมขาว

Acer laurinum Hassk.
-
ACERACEAE
ไม้ต้นแยกเพศ สูงได้ถึง 30 เมตร ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปหอกถึงรูปรี กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 6.5-15 ซม. โคนใบมนมีเส้นใบ 3-5 เส้น ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง มีนวลสีขาวหรือเทาอมน้ำเงินอ่อนๆ ที่ใต้ใบ ก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ดอกแยกเพศออกเป็นช่อที่ซอกใบยาว 2-10 ซม. ดอกย่อยสีเขียวถึงเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน มีอย่างละ 5 กลีบ รูปหอก ยาว 1.5-3 มม. มีขน เกสรเพศผู้มีจำนวน 8 อัน ก้านชูเกสรเพศผู้ยาว 2.5-3 มม. อับเรณูค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ ยาว 0.5-0.75 มม. ดีสค์หนามีขนประปราย รังไข่มีขนประปราย ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. ผล แห้งปีกเดียว มี 2 อันติดกัน กว้าง 1.2-2.3 ซม. ยาว 4-7 ซม. (รวมปีกด้วย) เมล็ด รูปไข่ผิวหยาบมีขนประปราย กว้าง 5-6 มม. ยาว 8-11 มม.
พบกระจายในเนปาล อินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบตามป่าดิบเขาที่ะดับความสูง 1,600-1,800 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ติดผลช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
-
-

P. Srisanga’s thesis

-

4078 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: