เผยแพร่เมื่อ/created date: -

เปล้าเลือด

Stephania venosa (Bl.) Spreng.
เปล้าเลือดเครือ สบู่เลือด(เหนือ) กลิ้งกลางดง (ตะวันตกเฉียงใต้) บอระเพ็ดยางแดง (ชายฝั่งทะเลภาคใต้) กระท่อมเลือด (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
MENISPERMACEAE
ไม้เถา มีลำต้นสะสมอาหาร เถาเกลี้ยง มียางสีแดงบริเวณปลายยอด หรือที่ก้านใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบเว้าเล็กน้อยทำให้เห็นใบค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบกว้าง 7-12 ยาว 6-11 ซม.ฐานใบรูปตัด หรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบ ตัด หรือมีติ่งเล็กน้อย ท้องใบ มีขนเล็กน้อย และเป็นมันวาวเล็กน้อย มักเห็นเส้นใบเด่นชัด ก้านใบ ยาว 5-15 ซม. ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้ ช่อแบบซี่รม ช่อยาว 4-16 ซม.มีช่อย่อยเป็นกระจุก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 6 ยาว 2-2.5 มม. 3 กลีบด้านนอกรูปใบหอกกลับ 3 กลีบด้านในรูป ไข่กลับ โคนเรียวเล็กลง กลีบดอก 3 สีส้ม รูปไข่กลับ หรือรูปสามเหลี่ยมกลับ ยาว ประมาณ 1.25 มม. เกสรเพศผู้ติดรวมกันที่ก้านมีลักษณะเป็นวงแหวน ก้านชูเกสร ยาว 1-1.75 มม. ช่อดอกเพศเมีย มักจะหนาแน่นกว่า บางช่อค่อนข้างติดกัน ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 1 รูปรี ยาว 0.75 มม. กลีบดอก 2 คล้ายรูปไต ยาว 0.75 มม. รังไข่ ค่อนข้างเป็นรูปรี ยาว 1.5 มม. ผล แบบเมล็ดเดียวเปลือกเมล็ดแข็ง รูป ไข่กลับ ยาว 7 มม.
พบในเวียดนาม มาลายา สุมาตรา ชวา Sabah, Celebes ฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่พบในป่าเบญจพรรณ และเขาหินปูน จนถึงระดับ 1,500 ม. จากน้ำทะเล
ล้านนาใช้ ใบ ผสมสมุนไพรตำรับที่ 23 ต้มอบไอน้ำ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอใช้ เปลือกและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้มาลาเรีย ตำคั้นน้ำทาห้ามเลือด รักษาแผลสด

หนังสือพรรณไม้เมืองไทย พืชสมุนไพร1

-

5131 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: