Share
ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Picrasma javanica Blume
ชื่อวงศ์

Family name

SIMAROUBACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

กอมขม Kom khom (Northern); กะลำเพาะต้น Kalam pho ton, หมาชล Ma chon (Chon Buri); ดีงูต้น Di ngu ton (Phitsanulok); ดำ Dam (Nakhon Si thammarat); ตะพ้านก้น Ta phan kon (Chiang Mai); เนียปะโจะ Nia-pa-cho (Karen-Mae Hong Son); มะปอจอ Ma-po-cho (Karen-Northern); หงีน้ำ Ngi nam, หยีน้ำใบเล็ก Yi nam bai lek (Trang); หมักกอม Mak-kom (Shan-Chiang Mai)
ชื่อสามัญ

Common name

-
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(Sb) Stem bark
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

เปลือกต้น ต้มรมแผลบาทยัก หรือแผล ต้มอาบแก้ผื่นคัน ใบ หรือเปลือกต้น ต้มดื่มแก้ไข้มาลาเรีย ต้มอาบแก้คัน ใบ ต้มรมน้ำกัดเท้า แก้บวม ต้มรมแผลบาททะยัก (2) เปลือกต้น แช่น้ำ หรือต้มน้ำกินแก้ไข้มาลาเรีย ต้มดื่มแก้ไข้มาลาเรีย (ผู้กินต้องอายุ 10 ปีขึ้นไป หากเด็กกว่าจะทำให้ไม่มีแรง) (3) ลำต้น ต้มดื่มแก้ความดันสูง โรคเบาหวาน แก้ปวดเมื่อย เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง แก้โรคเบาหวาน แช่น้ำดื่มแก้ปวดขา ดองเหล้าแก้ไข้เลือดออก ดองเป็นยาบำรุงร่างกาย (4)
ข้อควรระวัง

Caution

-
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ออกดอกและติดผลตลอดปี
ลักษณะ

Habit

ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 10 เมตร ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 2-4 คู่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ฐานใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นมัน ใบอ่อนสีชมพู ช่อดอก ออกที่ซอกใบ ดอกขนาด 1-1.5 ซม. สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม มี 4 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ ปลายแหลม โค้งกลับ ดอกเพศผู้ มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน แยกกัน ยาวกว่ากลีบดอก ดอกเพศเมีย มีก้านเกสรเพศเมีย 4 อัน ปลายแหลมจรดกัน เกสรเพสผู้สั้นและเป็นหมัน ผลกลม เป็นกลุ่ม 2-4 ผล อยู่บนฐานรองดอกที่ขยายตัว มีกลีบเลี้ยงติดทนรองรับ
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบบริเวณริมลำธารที่มีร่มเงา ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-600 เมตร
หมายเหตุ

Remark

-
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(4) วิทยา ปองอมรกุล และเบญจพร ภูกาบหิน. 2559. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน.
QR code