Share






ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Amaranthus spinosus L.
ชื่อวงศ์

Family name

AMARANTHACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

หมูลางดุ (กะเหรี่ยง) ผักโหมหนาม Phak hom nam (Peninsular), กะเหม่อลอมี Ka-moe-lo-mi, แม่ล้อดู่ Mae-lo-du หมั่งลั้งดุ่ Mang-lang-du, (Karen-Mae Hong Son); ปะตึ Pa-tue (Khmer); ผักขมหนาม Phak khom nam (Central);
ชื่อสามัญ

Common name

Spiny amaranth , Spiny pigweed
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(Wp) Whole plant
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ทั้งต้น แก้อาการปวดท้อง แก้ปวดขา (4) ทั้งต้น เป็นยาแก้ตกเลือด แก้แน่นท้อง
ข้อควรระวัง

Caution

รายงานจากประเทศบราซิลพบว่ามีพิษต่อวัว ควาย และม้า ทำให้มีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร นำ้หนักลด ท้องเสียกลิ่นเหม็นมาก มีเลือดปนในอุจจาระ
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ลักษณะ

Habit

ต้น ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง15-100 ซม. ลำต้นตั้งตรง กลมมนหรือเป็นสันป้าน แตกกิ่งก้านมาก ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-4.5 ซม. ยาว 4-10 ซม. เมื่ออ่อนอยู่มีขนเล็กน้อยที่เส้นใบ ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น มีหนามไม่แข็ง กลีบรวมโค้ง ขอบกลีบใส ตรงกลางมีแถบสีเขียวหรือม่วง แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ผล แห้ง แตกได้ รูปขอบขนานปลายแยกเป็น3 พู
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

หมายเหตุ

Remark

เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(4) รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2558-2559 โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา (35)
QR code