Share






ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Millettia caerulea Baker
ชื่อวงศ์

Family name

FABACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

ผักเยี่ยววัว phak yiao wua (Northern) ปัวเปาะเด๊าะ pua-po-do (Karen-Mae Hong Son) หางไหลแดง hang lai daeng (Southwestern)
ชื่อสามัญ

Common name

ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

รากต้มดื่มรักษาอาการท้องร่วง ใบต้มดื่มแก้นิ่ว ใบต้มดื่มแก้ท้องอืด ลำต้นต้มดื่มแก้ปวดท้อง ใบและลำต้นลวกจิ้มน้ำพริกรักษาโรคกระเพาะ ใบต้มดื่มแก้ปวดท้องท้อง แก้ไข้ (4)
ข้อควรระวัง

Caution

ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
ลักษณะ

Habit

ไม้เลื้อย ลำต้นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ก้านใบยาว 4-7 ซม. แกนกลางใบยาว 10-12 ซม. ใบย่อย 3-5 คู่ รูปรีหรือรูปหอกกลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. เส้นใบ 6-9 คู่ ฐานใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลมหรือยาวคล้ายหาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขน ช่อดอกแบบช่อกระจะประกอบ ยาว 15-30 ซม. ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีม่วงเช้ม ยาว 2-3 มม. ปลายหยักตื้น 5 หยัก กลีบดอกสีม่วงเข้ม กลีบกลางสีม่วง กว้าง 6-8 มม. ยาว 7-10 มม. กลีบคู่ข้าง กว้าง 4-5 มม. ยาว 8-10 มม. กลีบคู่ล่าง ยาว 8-10 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลรูปรี กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-6 ซม. เมล็ดรูปไต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม.
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบบริเวณริมลำธารระหว่างเขาหินปูนที่ระดับ 450 เมตร
หมายเหตุ

Remark

เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(4) วิทยา ปองอมรกุล และเบญจพร ภูกาบหิน. 2559. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน.
QR code