จัดทำเพื่อรองรับการดำเนินงานโดยถ่ายทอดยุทธศาสตร์และมาตรการตาม (ร่าง) แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน และแผนปฏิบัติการ 11 เรื่อง โดยทางองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติ แผนงาน/ โครงการต่างๆร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ สรุปได้ดังนี้
1.1 แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความตระหนักและให้การศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
1.1.1 สร้างความตระหนัก ส่งเสริมการศึกษา การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ |
1.1.1.2 จัดทำ และพัฒนาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วน |
จัดทำและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และข้อความ (Key Message) รวมถึงการประกวดคำขวัญ คำคม การคัดเลือก Brand Ambassadors เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นที่สนใจต่อสาธารณชน |
2558-2559 |
คัดเลือกพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงหรือชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
2559 |
||
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับความรู้พื้นบ้าน และวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนผ่านทางสื่อและองค์กรในระดับต่างๆ รวมถึงองค์กรในระดับท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย |
2558-2559 |
||
เผยแพร่สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ |
2558-2559 |
||
จัดทำสารคดี ภาพยนตร์สั้น สปอตรณรงค์ การ์ตูน รายงาน ข่าว สกู๊ป ข่าว ฯลฯ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน เผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และหนังสือพิมพ์ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด |
2558-2559 |
||
1.1.1.3 เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ถึงความสำคัญของงานอนุกรมวิธาน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอนุกรมวิธาน |
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญของงานด้านอนุกรมวิธานที่เป็นพื้นฐานการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพผ่านสื่อที่เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย |
2558-2559 |
|
จัดแสดงนิทรรศการ “Thai Discovery” ด้านอนุกรมวิธาน |
2558-2559 |
||
จัดแลกเปลี่ยนนิทรรศการ Flora-Fauna Discovery (พืช-แมลง) กับพิพิธภัณฑ์ในประเทศและนานาชาติ |
2558-2559 |
||
1.1.1.4 ส่งเสริมการให้ความรู้และความตระหนักที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืช และสัตว์ โดยผสานความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ |
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น และการใช้สิ่งมีชีวิตบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อม |
2558-2559 |
|
จัดตั้งและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา |
2558-2559 |
||
1.1.1.5 จัดกิจกรรมรณรงค์และการประชุมเพื่อสร้างความรู้ ความตระหนัก แรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน |
จัดค่ายเยาวชน ค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ค่ายวิทยาศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
2558-2559 |
|
จัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ทศวรรษสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ วันสิ่งแวดล้อมโลก วันสิ่งแวดล้อมไทย วันนกอพยพโลก เป็นต้น) รวมทั้งสอดแทรกเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันเด็กแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ |
2558-2559 |
||
จัดเสวนาวิชาการร่วมกับผู้นำชุมชน ปราชญ์พื้นบ้าน |
2558-2559 |
||
ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ |
2558-2559 |
||
ส่งเสริมให้ความรู้และประโยชน์ของแมลงน้ำแก่เยาวชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง อสพ. |
2559 |
||
1.1.1.6 เสริมสร้างสมรรถนะเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาเทคนิค/ ภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่หรือสื่อสารข้อมูลความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้เข้าใจง่าย มีความเหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการติดตามและประเมินความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะของหน่วยงานหรือบุคลากรในแต่ละระดับ |
จัดอบรมมัคคุเทศก์ตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติให้มีความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อให้สามารถนำไปสอดแทรกในการปฏิบัติงานประจำ |
2558-2559 |
|
1.1.1.7 จัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
จัดประชุมวิชาการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะพระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ |
2558-2559 |
|
จัดสัมมนาและนิทรรศการเครือข่ายพฤกษศาสตร์สากลเพื่อการอนุรักษ์ |
2558-2559 |
1.2 แผนปฏิบัติการบูรณาการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
1.2.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและอนุวัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง |
1.2.1.2 จัดตั้งและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน |
สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พืชรวมถึงเพิ่มสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย |
2558-2559 |
1.2.1.6 เสริมสร้างสมรรถนะของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการอนุวัติการตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงที่เกี่ยวกับปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน |
สนับสนุนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมคณะทำงานวิชาการ (ATHEG,WG) คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการและเทคโนโลยี (SBSTTA) สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP) สมัชชาภาคีพิธีกสารคาร์ตาเฮนา (COP-MOP) สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และโครงการพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกอพยพ รวมถึงพันธกรณีที่เกี่ยวข้อง |
2558-2559 |
2.1 แผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
2.1.3 จัดทำกลไกในการปกป้องคุ้มครอง และฟื้นฟูชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นและชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามตามทะเบียนชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย |
2.1.3.3 ส่งเสริมบทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองชนิดพันธุ์พืชและสัตว์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย |
โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศหิ่งห้อยป่าชายเลนด้วยความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน |
2558 |
โครงการอนุรักษ์เพื่อสนองพระราชดำริ: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยาและอนุกรมวิธานของหิ่งห้อย เพื่อการอนุรักษ์โดยมีส่วนร่วมของชุมชน |
2558 |
||
โครงการศึกาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ |
2558 |
||
โครงการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของราไมคอร์ไรซาหลังปล่อยฟ้ามุ่ยในสภาพกึ่งธรรมชาติ |
2558 |
||
โครงการสำรวจความหลากหลายของชนิดพันธุ์และนิเวศวิทยาของแมลงปอในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์แมลงสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ |
2558-2559 |
||
โครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชที่ถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ |
2558-2559 |
||
โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทย (รองเท้านารี หนวดฤๅษี รองเท้านารีปีกแมลงปอ สกุลสิรินธรเนีย สกุลเอื้องดินใบไผ่ เอื้องมือชะนี ฟ้ามุ่ย) และปลูกเลี้ยงฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศโดยการอบรมชุมชน |
2558-2559 |
||
โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้แบบบูรณาการ -กิจกรรมศึกษาและสำรวจกล้วยไม้ -กิจกรรมราไมคอร์ไรซ่าในกล้วยไม้ -กิจกรรมกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อ -กิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ป่าแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปงไคร้ จ.เชียงใหม่ เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน -หิจกรรมทะเบียนเครื่องหมายพันธุกรรมกล้วยไม้ไทย -กิจกรรมธนาคารเมล็ดพันธุ์กล้วยไม้ไทย |
2558-2559 |
||
คืนกล้วยไม้สู่แหล่งกระจายพันธุ์ในธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
2558-2559 |
||
อนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรในระบบนิเวศของพรรณไม้ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ |
2558-2559 |
||
2.1.4 อนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชเกษตร ปศุสัตว์ สัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยง สายพันธุ์ป่าและพื้นเมือง จุลินทรีย์ รวมถึงชนิดพันธุ์อื่นที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและนิเวศวิทยา |
2.1.4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ |
โครงการสำรวจรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพื้นเมือง พืชป่า ที่เป็นเครือญาติกับพืชปลูก |
2558-2559 |
โครงการสำรวจความหลากหลายของพืชในภาคเหนือ -ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย -ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดเชียงราย -ความหลากหลายของพืชมีท่อลำเลียงบริเวณเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท จังหวัดลำปาง |
2558-2559 |
||
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้: ธนาคารเมล็ดพันธุ์และราไมคอร์ไรซาในกล้วยไม้ |
2558-2559 |
||
โครงการปรับปรุงพัฒนาห้องเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในสภาพปลอดเชื้อ ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ |
2558-2559 |
||
2.1.5 พัฒนาและผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ระดับโลก |
2.1.5.2 สร้างเครือข่ายและเสริมสร้างสมรรถนะเครือข่ายในการดำเนินงานตามเป้าหมายและแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ |
สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พืชรวมถึงเพิ่มสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย |
2558-2559 |
2.2 แผนปฏิบัติการลดภัยคุกคามและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
2.2.2 ควบคุมและป้องกันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศเปราะบางอื่น ที่อาจได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของชุมชน ภาวะมลพิษ การประมงเกินขีดจำกัด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
2.2.2.2 ติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเปราะบาง |
โครงการแปลงศึกษาถาวรและโครงสร้างสังคมพืชในสวนบ้านร่มเกล้าในพระราชดำริ จ.พิษณุโลก |
2558-2559 |
2.4 แผนปฏิบัติการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
2.4.1 จำแนก ระบุ และจัดลำดับความสำคัญของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน และเส้นทางการแพร่ระบาดควบคุมหรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีลำดับความสำคัญสูง และดำเนินมาตรการจัดการเส้นทางการแพร่ระบาดเพื่อป้องกันการนำเข้าและการตั้งถิ่นฐานที่รุกราน |
2.4.1.2 ศึกษา จำแนก จัดลำดับเส้นทางและวิธีการเข้ามาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รวมทั้งศึกษา สำรวจ ในแง่ของการแพร่กระจายและแนวโน้มการรุกรานตลอดจนผลกระทบต่อระบบนิเวศ |
มดต่างถิ่นที่รุกรานที่มีผลกระทบต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในพื้นที่อนุรักษ์ |
2558-2559 |
2.4.1.3 ปรับปรุงกลไก และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน |
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำคู่มือการดูแลจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (both exotic and invasive alien species) ในสวนพฤกษศาสตร์ |
2558 |
|
2.4.1.7 เสริมสร้างสมรรถนะให้กับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนให้สามารถตรวจสอบ ป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน |
จัดทำช่องทางและสร้างเครือข่ายการแจ้งข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่น |
2558-2559 |
|
สร้างกลุ่มเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น |
2558-2559 |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ และบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนและแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว
3.1 แผนปฏิบัติการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรม
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
3.1.1 ปกป้องคุ้มครองแหล่งและทรัพยากรพันธุกรรมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพและทรัพยากรพันธุกรรม โดยเร่งรัดให้มีการจัดทำและปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกในการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง |
3.1.1.1 ศึกษาวิเคราะห์ และเตรียมความพร้อมในการดำเนินการให้สัตยาบันพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม |
จัดประชุมเผยแพร่สาระของพิธีสารนาโงยาฯ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่างๆ |
2558-2559 |
3.1.1.2 เร่งรัดให้มีการจัดทำและปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกในการเข้าถึง แบ่งปันผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ |
พัฒนาและปรับปรุงกลไก กฎระเบียบ และแนวทางการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ให้สอดคล้องกับพันธกรณีของพิธีสารนาโงยาฯ |
2558-2559 |
|
ศึกษาวิเคราะห์และทบทวนกฎระเบียบและกลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำมาตรการเชิงนโยบาย กฎหมายและองค์กร ที่สอดคล้องกับพันธกรณีของพิธีสารนาโงยาฯ |
2558-2559 |
||
ศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดี หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อตกลงในการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพ |
2558-2559 |
||
3.1.1.3 บูรณาการหลักการและเงื่อนไขการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเข้าไปอยู่ในแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง |
จัดทำระเบียบและกลไกเรื่องการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพระดับหน่วยงานให้เป็นไปตามพันธกรณีของพิธีสารนาโงยาฯ และระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554 |
2558-2559 |
|
เสริมสร้างสมรรถนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามพันธกรณีของพิธีสารนาโงยาฯ และระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554 |
2558-2559 |
3.2 แผนปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
3.2.3 พัฒนาฐานข้อมูลและองค์ความรู้ |
3.2.3.2 ศึกษาเพื่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้/ ภูมิปัญญา |
โครงการแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชวงศ์ขิง-ข่า การใช้ประโยชน์พืชสกุลมหาหงส์ เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ต้านการอักเสบ |
2557-2558 |
4.1 แผนปฏิบัติการจัดการองค์ความรู้และฐานข้อมูล
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
4.1.1 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน |
4.1.1.2 ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรนักวิจัย และนักอนุกรมวิธานด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้ทัดเทียมกับนานาชาติ |
จัดอบรมหลักสูตร International Certificate Course on Biodiversity Monitoring and Management |
2558-2559 |
ฝึกอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรเพื่อใช้ความรู้ด้านอนุกรมวิธานสำหรับปฏิบัติงาน -โครงการเสริมสร้างสมรรถนะพนักงานด้าน Application of International Environmental Law: Biodiversity -ฝึกอบรมอนุกรมวิธานสำหรับปฏิบัติงาน (Advance Taxonomy) พืช/ แมลง เสริมสร้างสมรรถนะ นักอนุกรมวิธานแมลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ -การอบรมนักอนุกรมวิธานแมลงในวงศ์ Scolytidae, Empididae |
2558-2559
2558-2559
2559 |
||
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการอนุกรมวิธานพืชเบื้องต้น (Principle Taxonomy) และการระบุชนิดพืช(Plant Identification) |
2558-2559 |
||
4.1.1.3 สนับสนุนการดำเนินงานและผลักดันการจัดตั้งและเพิ่มสมรรถนะพิพิธภัณฑ์และธนาคารเชื้อพันธุ์ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ให้เป็นมาตรฐานสากล |
พัฒนาพิพิธภัณฑ์แมลงของ อสพ. ระยะที่ 1 |
2558-2559 |
|
4.1.1.4 เสริมสร้างสมรรถนะสถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และเครือข่ายในการศึกษา สำรวจ และจัดเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ชนิดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พื้นที่สีเขียวและระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตเมือง เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ |
จัดทำคู่มือแนะนำแมลงที่พบในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ |
2558-2559 |
|
4.1.1.5 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและอนุกรมวิธาน |
จัดทำ Fauna of Thailand (เน้นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) - Flora of Thailand |
2558-2559 |
|
ส่งเสริมการวิจัยด้านอนุกรมวิธานในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่อ่อนไหว และพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ -อนุกรมวิธานพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
2558-2559 |
||
ศึกษาและทบทวนอนุกรมวิธานพืชวงศ์บัวในประเทศไทย |
2558 |
||
4.1.2 พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรฐานสากล |
4.1.2.3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไกเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล (Clearing House Mechanism) และองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งฐานข้อมูลสถานภาพ ขอบเขต แนวกันชน และแผนที่พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นปัจจุบันและสามารถเข้าถึงได้ในทุกระดับ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงนโยบาย |
โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านพืชเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืชให้คงอยู่อย่างยั่งยืน (หลักสูตรนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น หลักสูตรเชิงปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพด้านอนุกรมวิธานพืชเบื้องต้นและชั้นสูง การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ การถ่ายภาพทางพฤกษศาสตร์ หลักสูตรการอบรมให้ความรู้ทางพืชและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรค่ายเยาวชนพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการจัดบรรยายทางวิชาการ |
2558-2559 |
จัดการภาพถ่ายและข้อมูลแมลงตัวอย่าง: ถ่ายภาพและพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อจัดการภาพและข้อมูลแมลงในพิพิธภัณฑ์ |
2558-2559 |
||
แปลงข้อมูลและตัวอย่างแมลงของ Roger Beeveer ให้เป็นระบบดิจิทอล: ถ่ายภาพและจัดการข้อมูลแมลงตัวอย่าง |
2558-2559 |
||
แปลงหนังสือรายชื่อแมลงและไรในประเทศไทยให้เป็นระบบดิจิทอล |
2558-2559 |
||
แปลงคู่มือการจัดทำป้ายสื่อความหมายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้เป็นระบบดิจิทอล |
2558-2559 |
4.2 แผนปฏิบัติการสงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการ |
แนวทางปฏิบัติ |
แผนงาน/ โครงการ |
ระยะเวลา (ปี) |
4.2.1 ส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยสนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้ ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง |
4.2.1.1 จัดทำข้อมูล/ ทะเบียนแห่งชาติของภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ |
โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน |
2558 |
โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาวชองในภาคตะวันออกของประเทศไทย |
2558-2559 |
||
โครงการศึกษาศักยภาพของพืชอาหารพื้นเมืองเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ |
2558-2559 |
||
โครงการศึกษาสารเคมีในพืชสมุนไพรกลิ่นหอม |
2558-2559 |