(ร่าง) แผนปฏิบัติการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายของพืชอย่างยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564

วัตถุประสงค์ 1       เพื่อให้มีการศึกษาวิจัย รวบรวมข้อมูล แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านอนุกรมวิธานพืช

เป้าหมาย แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลา(ปี)

1.1 เผยแพร่ทะเบียนรายชื่อชนิดพันธุ์พืชในประเทศไทยผ่านช่องทางที่สะดวกต่อการเข้าถึงของสาธารณชน 

·   เผยแพร่ทะเบียนรายชื่อชนิดพันธุ์พืชที่รู้จักของประเทศไทยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตตามหลักสากล

·   การจัดทำทะเบียนรายการชื่อชนิดพันธุ์พืชในประเทศไทย (Checklist)

·      การจัดทำทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืชในพื้นที่ที่มีความสำคัญ

·   การจัดทำทะเบียนพืชสมุนไพร

·   การพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลพรรณไม้

2560-2563

1.3 แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการวิจัยและผลการวิจัยด้านอนุรมวิธานพืช

 

 

·   จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืชเผยแพร่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

 

·   การพัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

·   โครงการพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทย (Flora of Thailand)

·   การวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืชในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พื้นที่อ่อนไหว และพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ

·   ศึกษาและทบทวนอนุกรมวิธานพืชวงศ์บัวใน
ประเทศไทย

·   การพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลพรรณไม้

·   การจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

 

 

 

วัตถุประสงค์ 2       เพื่อให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายของพืชอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิผล

เป้าหมาย แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ระยะเวลา

(ปี)

2.5 อนุรักษ์และฟื้นฟู
ชนิดพันธุ์พืชที่ถูกคุกคาม
นอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ

 

·   จัดทำมาตรการคุ้มครองและอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามนอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ

·   สนับสนุนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือการอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายของพืชนอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

·   สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมและการดำเนินการฟื้นฟูชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

·   จัดตั้งหน่วยงานกลางสำหรับเก็บรวบรวมพันธุกรรมชนิดพันธุ์พืชที่ถูกคุกคาม

·   การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ประจำภาค

·   ศึกษาการขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์และนำคืนสู่ธรรมชาติ

2560-2563

2.6 อนุรักษ์พันธุกรรมของพืชเกษตรที่มีชนิด/พันธุ์พืชป่า และพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมถึงรวบรวมข้อมูลและธำรงรักษาความรู้พื้นเมืองและความรู้ท้องถิ่นของพืชดังกล่าว

 

 

·   ระบุ จำแนก และจัดทำมาตรการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์พืชเกษตร พืชป่า และพืชพันธุ์หลักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อธำรงรักษาคุณค่าที่เกี่ยวกับความรู้พื้นเมืองและความรู้ท้องถิ่น

·   รวบรวม เก็บรักษาสายพันธุ์พืชเกษตร พืชป่าไว้ในแหล่งรวบรวมนอกถิ่นที่อยู่อาศัย

·   รวบรวมข้อมูลความรู้พื้นเมืองและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชปลูก พืชป่า และพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น

·   โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

·   การสำรวจรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพื้นเมือง พืชป่าที่เป็นเครือญาติกับพืชปลูก

·   จัดตั้ง/พัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์

-  โครงการจัดสร้างสวนรวมพันธุ์ไม้ป่า

-  โครงการปรับปรุงพันธุกรรมไม้ป่า

·   รวบรวมและจัดทำข้อมูลพันธุกรรมระดับชีวโมเลกุล (ข้อมูลดีเอ็นเอ) ของพืชป่าแต่ละชนิดที่สำคัญจากแหล่งธรรมชาติ

·   จัดทำ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprint)” พืชพื้นเมืองและสัตว์พื้นเมืองของไทย

2560-2563

2.7 สนับสนุนให้มีการจัดการเพื่อป้องกันการรุกรานทางชีวภาพของพืชในพื้นที่ที่มีความ
สำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืช

 

 

 

·   สนับสนุนการศึกษาวิจัย ปัจจัยการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืช

·   จัดทำและดำเนินการตามแผนการจัดการเชิงพื้นที่ในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

·   ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการติดตาม ตรวจสอบ และจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

·   เสริมสร้างสมรรถนะให้กับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนให้สามารถตรวจสอบ ป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน

·  ศึกษาและประเมินชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รวมถึงจัดลำดับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่อนุรักษ์

·  การศึกษาและประเมินชนิดพันธุ์ต่างถิ่นใน
สวนพฤกษศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี และ
สวนรวมพรรณไม้ป่า 16 สวน

·  การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำคู่มือการดูแลจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (both exotic and invasive alien species) ในสวนพฤกษศาสตร์

·  การจัดทำช่องทางและสร้างเครือข่ายการแจ้งข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

·  จัดทำเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับการจำแนกชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานความหลากหลายทางชีวภาพของพืช

 

2560-2563

วัตถุประสงค์ 4       เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของความหลากหลายของพืช

เป้าหมาย

แนวทางปฏิบัติ

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ระยะเวลา

(ปี)

4.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทความสำคัญของพืชผ่านเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และวิทยุ รวมถึงสอดแทรกประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพของพืชผ่านระบบการศึกษาในและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

 

 

·   ประชาสัมพันธ์และจัดทำสารคดีเสริมสร้างความรู้เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของพืชในการสนับสนุนการดำรงชีวิตให้แก่ทุกระดับ

·   เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูและสื่อมวลชน เพื่อถ่ายทอดความ
สำคัญของทรัพยากรพืช

·   จัดทำทะเบียนสารานุกรมพืชสมุนไพรและพืชที่มีคุณค่าอื่นๆ

·   จัดทำเอกสารเผยแพร่ /จัดนิทรรศการให้ความรู้กับทุกภาคส่วน

·   ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนให้มีความรู้และความตระหนักถึงความ
สำคัญของความหลากหลายของพืชในท้องถิ่น

·   สนับสนุนให้มีศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และจัดแสดงการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของพืชอย่างยั่งยืน

·   เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของพืชและความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับความรู้พื้นบ้าน และวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนผ่านทางสื่อและองค์กรต่างๆ โดยใช้รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

·   การถ่ายทอดความรู้ด้านพืชเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืชให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

·   จัดนิทรรศการ Discovery Plant in Thailand

·   โครงการชุมชนเข้มแข็ง ป่าชายเลนยั่งยืน

 

2560-2563

 

 

วัตถุประสงค์ 5       เพื่อให้มีการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรและเครือข่ายด้านอนุกรมวิธานพืช

เป้าหมาย แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลา (ปี)

5.1 เสริมสร้างสมรรถนะด้านอนุกรมวิธานพืช

·   เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรด้านการอนุรักษ์พืชอย่างต่อเนื่อง

·   พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการบำรุงรักษาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เหมาะสม

·   ติดตามและประเมินความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะที่ตอบสนองความต้องการระดับชาติ

·   พัฒนาบุคลากรด้านอนุกรมวิธานพืชและนักอนุกรม
วิธานสมทบ

·   จัดสรรทุนเล่าเรียนสาขาอนุกรมวิธานพืชตามความต้องการของหน่วยงาน

 

2560-2563

·   เพิ่มจำนวนนักอนุกรมวิธานพืช

·   ร่วมมือและประสานการดำเนินการกับโปรแกรมการริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน (GTI)

·   ผลักดันให้เกิดการเพิ่มส่วนงานและตำแหน่งนักอนุกรมวิธานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้งานอนุกรมวิธานเป็นวิชาชีพพิเศษเป็นสาขาขาดแคลนโดยได้รับค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวิชาชีพ

 

5.2 เสริมสร้างและสนับสนุนภาคีเครือข่ายการอนุรักษ์พืชให้มีความยั่งยืนและเข้มแข็ง

·   สร้างเครือข่ายและพันธมิตรความร่วมมือในการอนุรักษ์พืชและเสริมสร้างความเข้มแข็งของของเครือข่ายที่มีอยู่

·   เสริมสร้างและประสานการดำเนินงานกับเครือข่ายงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก

·   สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พืช รวมถึงเพิ่มสมรรถนะและสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่าย

·   จัดสัมมนาและนิทรรศการเครือข่ายพฤกษศาสตร์สากลเพื่อการอนุรักษ์

·   สร้างเครือข่ายความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้สู่สากล

2560-2563

·   สร้างเครือข่ายฟื้นฟู อนุรักษ์และ คุ้มครองพืชหายาก 

·   จัดตั้งและเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายคุ้มครองชนิดพันธุ์พืชหายากโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้

2560-2563