เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

กล้วยไม้หางปลา

Oberonia ensiformis (Sm.) Lindl.
Malaxis ensiformis Sm.; Oberonia iridifolia Lindl.; Malaxis iridifolia Rchb.f.; Iridorkis ensiformis (Sm.) Kuntze; Iridorkis iridifolia Kuntze; Oberonia trilobata Griff.; Oberonia vesiculifera Aver.
-
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ ลำต้นห้อยลง ใบ จำนวน 4-6 ใบ ออกสลับระนาบเดียว แผ่นใบแบนด้านข้าง อวบน้ำ รูปแถบถึงขอบขนานเบี้ยว กว้าง 1.2-2.2 ซม. ยาว 15-50 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอก ออกที่ปลายยอด แบบช่อกระจะแน่น ดอกย่อยจำนวนมาก ก้านช่อดอกแผ่แบน ดอก บานเต็มที่กว้าง 4-5 มม. สีเขียวถึงสีเขียวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงกลางรูปชอบขนานถึงรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่ กลีบดอกรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขอบกลีบหยัก กลีบปากรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน แยกเป็น 3 พู ขอบกลีบหยัก มีต่อมที่โคนหูกลีบปากทั้งสองข้าง
Epiphyte, sympodial; stem pendulous. Leaves 4 - 6, distichous, bilaterally flattened, fleshy, obliquely linear to lanceolate 1.2 - 2.2 cm wide, 15 - 50 cm long, apex acuminate. Inflorescence terminal, densely racemose, many-flowered; peduncle compressed. Flowers 4 - 5 mm across, green to yellowish-green; dorsal sepal oblong to ovate, lateral sepals ovate; petals ovate to lanceolate, margin erose; lip ovate to oblong, 3-lobed, margin erose, with gland between middlelobe and sidelobes.
พบตามป่าดิบเขาและเขาหินปูนทางภาคเหนือและภาคตะวันตก ที่ระดับความสูง 360-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม. การกระจายพันธุ์: ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย เมียนมา จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน
Hill evergreen forest and limestone forest in Northern and Western Thailand; 360 - 1,000 m alt. Flowering in October - March. Distribution: East of Himalaya range, Myanmar, South China, and Indochina.
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: