เผยแพร่เมื่อ/created date: -

แจง

Maerua siamensis (Kurz) Pax
แกง (ภาคตะวันออก)
CAPPARACEAE
ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร บ้างครั้งเป้นพุ่มเตี้ยๆ กิ่งเกลี้ยง ใบเป็นใบประกอบแบบนี้วมือ ใบย่อย 3 ใบ (บางครั้งมี 4-5 ใบ แต่พบได้น้อย) ยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร ก้านใบย่อยสั้นจนเกือบไม่มี ใบรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน บาง คล้ายกระดาษ ฐานใบมน หรือรูปลิ่ม ปลายใบโค้งหรือเว้าบุ๋มเล็กๆ มีหนามแหลมสั้นๆ เส้นใบแตกแขนงมาก ดอกออกเป็นช่อเชิงลดหรือช่อกระจะ ทั้งที่ปลายยอด และด้านข้าง ดอกอาจออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ ก้านดอกย่อยยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร ใบประดับรูปแถบ เล็ก กลีบเลี้ยงรูปไข่ กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 7-10 มิลลิเมตร ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง ฐานมีขนนุ่มๆ ปกคลุม เกสรเพศผู้ 9-12 อัน กานชูเกสรยาว 10-15 มิลลิเมตร ติดทน อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ปลายเป็นติ่งหนาม ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง รังไข่ทรงกระบอก ผิวเกลี้ยง ผลทรงกลมหรือทรงรี เมล็ดรูปไต
กัมพูชา เวียดนาม ในประเทศไทยพบที่จังหวัดตาก นครสวรรค์ เลย อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เขาหินปูน ระดับความสูง 0-400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ติดผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
-

Flora of Thailand, Volume 5, Part 3, Page266-267

-

5254 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: