ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific
name |
Mucuna interrupta Gagnep. |
ชื่อวงศ์ Family name |
FABACEAE |
ชื่อพื้นเมือง Local name |
สะบ้าลาย Sa ba lai; เครือบ้าลาย Kear baa lai; หมามุ้ย Maa muy |
ชื่อสามัญ Common name |
|
ส่วนที่นำมาใช้ Plant part
used |
(Se) Seed |
การใช้ประโยชน์ Uses and Ultilizing |
เมล็ด ใช้ฝนน้ำทา รักษาโรคผิวหนัง
|
ข้อควรระวัง Caution |
|
ฤดูติดดอก ออกผล Flowering & Fruiting Season |
ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ติดผลเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม |
ลักษณะ Habit |
ไม้เถา มีเนื้อไม้ ใบประกอบสามใบ รูปไข่แกมรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 9-12 ซม. โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนประปราย ช่อดอก ออกตามซอกใบ ยาว 10-14 ซม. ดอกย่อยรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 4 ซม. สีเหลืองนวลแกมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยง รูปถ้วยปากกว้าง ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน 9 อันเชื่อมติดกัน อีก 1 อันแยก รังไข่มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียผิวเกลี้ยง ผลเป็นฝักแบน รูปกลมรี มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดกลม มีประสีน้ำตาล 2-3 เมล็ด |
พื้นที่ที่พบในสวนฯ Display area (QSBG) |
|
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบบริเวณเชิงเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-800 เมตร |
หมายเหตุ Remark |
|
เอกสารอ้างอิง Reference(s) |
มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน. สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน (172) |
QR code |
|
|
|