Share
ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Eclipta prostrata (L.) L.
ชื่อวงศ์

Family name

ASTERACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

กะเม็ง Kameng, กะเม็งตัวเมีย Kameng tua mia (Central), บั้งกีเช้า Bang-kee-chao (Chinese), หญ้าสับ Yaa sap , ฮ่อมเกี่ยว Hom kieo (Northern)
ชื่อสามัญ

Common name

-
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(St) Stem
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ทั้งต้น ต้มดื่มและทาบริเวณนิ้วมือเป็นยาแก้ตะคริว หรืออาบแก้ตะคริว ต้มอาบแก้ลมชัก ต้มกินแก้เหน็บชา แก้ปวดเมื่อย แก้อาการอ่อนเพลีย ตำพอกแผลสด ตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก (2)
ข้อควรระวัง

Caution

ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ลักษณะ

Habit

ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูง 4-32 นิ้ว ลำต้นมีขนกิ่งก้านแตกที่โคนต้น ใบ รูปรี หรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง กว้าง 0.5-2.5 ซ.ม. ยาว 3-10 ซ.ม. ไม่มีก้านใบ ดอก ออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาว ดอกวง ในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาว 2 มม. ส่วนปลายปยัก 4 แฉก ดอกวงนอก รูปรางน้ำ เรีว ยาว 2-4.5 ซ.ม. ผล รูปลูกข่าง สีดำ ปลายมีระยางค์เป็น เกล็ดยาว 3 มม. ผลกว้าง 1.5 มม. ยาว 3-3.5 มม.
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

ริมคูน้ำ หนองน้ำ หาดทราย นาข้าว
หมายเหตุ

Remark

ลำต้น นำมาต้มเอาน้ำดื่มหรือตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำหอม ใช้สูดดม แก้โรคดี ซ่าน หรือ ผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้งแล้วปั้น เป็นกลอนเล็กๆกินเป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ใบ ตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมันมะ พร้าว ใช้ใส่ผม ช่วยทำให้ผมดก ดำ เป็นมัน และยังแก้ผมหงอกก่อนวัยแก้โรคกลาก เกลื้อน
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(2) วิทยา ปองอมรกุล และนัทธี เมืองเย็น. 2555. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน.
QR code