ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific
name |
Gmelina arborea Roxb. |
ชื่อวงศ์ Family name |
LAMIACEAE |
ชื่อพื้นเมือง Local name |
ซ้อ So, เฝิง Foeng (Northern); กำม่าทุ Kam-ma-thu (Karen-Kanchanaburi, Kamphaeng Phet); แก้มอ้น Kaem on (Nakhon Ratchasima); ช้องแมว Chong maeo (Chumphon); เซาะแมว So-maeo (Malay-Narathiwat); แต้งขาว Taeng khao (Chiang Mai); ท้องแมว Thong maeo (Ratchaburi, Suphan Buri); เป้านก Pao nok (Uttaradit); ม้าเหล็ก Ma-lek (Lawa-Kanchanaburi); เมา Mao (Surat Thani); แม่ะ Mae (Karen-Mae Hong Son); ร่มม้า Rom ma, รำม้า Ram ma (Karen-Kanchanaburi); สันปลาช่อน San pla chon (Sukhothai) |
ชื่อสามัญ Common name |
Beechwood, Goomar teak, Kashmir tree, Malay beechwood, White teak |
ส่วนที่นำมาใช้ Plant part
used |
(Sb) Stem bark |
การใช้ประโยชน์ Uses and Ultilizing |
ราก และลำต้น ตำทาแก้คัน เปลือกต้นด้านใน ขูดเป็นผงรักษาน้ำกัดเท้า (2)
|
ข้อควรระวัง Caution |
- |
ฤดูติดดอก ออกผล Flowering & Fruiting Season |
ออกดอกเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม |
ลักษณะ Habit |
ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ กว้าง 11-15 ซม. ยาว 12-16 ซม. ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาว 7-10 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปปากเปิด กลีบบนมี 2 กลีบ รูปไข่กลับ ผิวด้านนอกและผิวด้านในมีต่อมขน กลีบล่างมี 3 กลีบ รูปไข่ ขอบเป็นคลื่น ผิวด้านนอกขนสั้นนุ่ม ผิวด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดกับหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ผลกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวอมเหลือง ผิวเกลี้ยง เป็นมันเล็กน้อย |
พื้นที่ที่พบในสวนฯ Display area (QSBG) |
|
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบบริเวณเชิงเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-700 เมตร |
หมายเหตุ Remark |
- |
เอกสารอ้างอิง Reference(s) |
(2) วิทยา ปองอมรกุล และนัทธี เมืองเย็น. 2555. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน. |
QR code |
|
|
|