หัวข้อข่าว
        สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้การรับรองมาตรฐาน BGCI ระดับที่ 2 BGCI Conservation Practitioner Accreditation (CPA) จาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI)
รายละเอียด
       
ในวันที่ 16 มกราคม 2566 สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้การรับรองมาตรฐาน BGCI ระดับที่ 2 BGCI Conservation Practitioner Accreditation (CPA) จาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI) โดยเป็น 1 ใน 19 สวนพฤกษศาสตร์จากทั่วโลกที่ได้การรับรองมาตรฐาน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในทวีปเอเชีย ยกตัวอย่างสวนพฤกษศาสตร์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน BGCI ในระดับ CPA เช่น The Eden Project สหราชอาณาจักร, Denver Botanic Garden สหรัฐอเมริกา, และ Hortus Botanicus Leiden เนเธอร์แลนด์ BGCI เป็นเครือข่ายการ อนุรักษ์พันธุ์พืช ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสถาบันที่เป็นสมาชิกกว่า 800 แห่ง จากทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ โดยมีบทบาทหนึ่งคือ ให้การรับรองให้กับ สวนพฤกษศาสตร์ ที่ต้องการขอหนังสือรับรองมาตรฐานสวนพฤกษศาสตร์ในระดับสากล โดยให้การรับรองมาตรฐานใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 BGCI Botanic Garden Accreditation (BGA)การรับรองสวนพฤกษศาสตร์มาตรฐาน: สวนพฤกษศาสตร์ที่ดำเนินการตามมาตรฐานสวนพฤกษศาสตร์ในระดับสากล ปัจจุบันมีสวนพฤกษศาสตร์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจำนวน 62 แห่ง โดยสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ได้การรับรองเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2565 ระดับที่ 2 BGCI Conservation Practitioner Accreditation (CPA) การรับรองสวนพฤกษศาสตร์ มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์: สวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตรฐาน และดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์พืชทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศหรือระดับโลก ปัจจุบันมีสวนพฤกษศาสตร์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจำนวน 17 แห่ง ระดับที่ 3 BGCI Advanced Conservation Practitioner Accreditation (ACPA) การรับรองสวนพฤกษศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ขั้นสูง: สวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตรฐาน และสามารถบรรลุผลเป้าหมาย และสนับสนุนด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชได้ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ปัจจุบันมีสวนพฤกษศาสตร์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจำนวน 16 แห่ง สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งเป้าหมายให้ได้การรับรองมาตรฐาน BGCI Advanced Conservation Practitioner Accreditation ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของ BGCI ภายในปี พ.ศ. 2568