Blue Waveองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมา

- การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญ และจัดว่าเป็นภารกิจสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานกิจการ เพื่อให้องค์กรมีความมั่นใจว่า ผลผลิต หรือผลงานขององค์กร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแก่องค์กรจะบรรลุเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ได้นำการบริหารความเสี่ยงมาเป็นแนวทางในการกำกับดูแลกิจการ ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ  (สคร.) ทั้งนี้ การดำเนินงานมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ด้านการบริหารจัดการองค์กร ในด้านการบริหารความเสี่ยง อ.ส.พ. จึงได้จัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง อ.ส.พ. ฉบับนี้ขึ้นโดยปรับปรุงจากคู่มือบริหารความเสี่ยง อ.ส.พ. ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นคู่มือที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร และ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กร ทั้งในระดับหน่วยงาน สำนัก และระดับองค์กร 

- คู่มือการบริหารความเสี่ยง ฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นตามหลักสากลของการบริหารความเสี่ยง โดยได้รวบรวมเนื้อหา และข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มาปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานภายใน อ.ส.พ. และหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามระบบบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างแท้จริง

ความหมายของการบริหารความเสี่ยง :

ความเสี่ยง (RISK) คือ เหตุการณ์ หรือการกระทำใดๆ ที่มีความไม่แน่นอน และอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
          ตัวอย่างเช่น  การเกิดภัยธรรมชาติ ความเสียหายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  การถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย  การคุกคามของโรคและแมลง  เป็นต้น

         

ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor ) หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นเหตุหรือสิ่งที่เป็นแหล่งที่มาของความเสี่ยงและเหตุการณ์ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยในแต่ละปัจจัยจะมีการ

การกำหนดสาเหตุที่แท้จริงของปัจจัยต่างๆ ที่สามารถอธิบายได้ว่าสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสี่ยงใดๆ และสามารถหามาตรการจัดการปัจจัยนั้นๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
          แหล่งที่มาของการเกิดความเสี่ยง เกิดจากปัจจัย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

  1. ปัจจัยภายใน เช่น  วัตถุประสงค์ขององค์กร, นโยบายและกลยุทธ์, การดำเนินงาน, กระบวนการทำงาน, โครงสร้างองค์กร และระบบการบริหารงาน, การเงิน, วัฒนธรรมองค์กร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายของรัฐ, สภาวะเศรษฐกิจ/สังคมการเมือง การดำเนินการของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง, การแข่งขั้น (คู่แข่งทางการดำเนินธุรกิจ), ผู้ขายหรือผู้ส่งมอบสินค้า / บริการและภัยธรรมชาติต่างๆเป็นต้น

ตัวอย่างการกำหนดความเสี่ยง

ปัจจัยภายใน


+        สาเหตุที่แท้จริง

=   ปัจจัยเสี่ยง
(สิ่งที่จะต้องจัดการ)

ปัจจัยภายนอก

โครงสร้างองค์กร +        ไม่สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์

                             =        โครงสร้างองค์กรไม่สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์

นโยบายรัฐบาล            +        มีการเปลี่ยนแปลง

                             =        นโยบายรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลง

          การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการในการระบุระดับความรุนแรงและการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงโดยประเมินจากโอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) ที่จะเกิดขึ้น
โอกาส (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น
          ผลกระทบ  (Impact) หมายถึง ความรุนแรงของความเสียหาย หรือผลที่เกิดขึ้นตามมาจากผลสืบเนื่องของเหตุการณ์ความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง  (Degree of Risk) หมายถึง  สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)  หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบความเสี่ยงหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธี ดังต่อไปนี้

  1. การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
  2. การลด / การความคุมความเสี่ยง (Risk Reduction)  เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
  3. การกระจายความเสี่ยง (Risk Sharing) หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
  4. การยกเลิก (Risk Teminate) หรือการ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoid) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ / กิจกรรมนั้น

องค์ประกอบสำคัญในการบริหารความเสี่ยง:

             การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8

ประการซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงานและการบริหารความเสี่ยงดังนี้

รูปที่ 1.1 แผนภาพแสดงการบริหารความเสี่ยงตามแนวทาง COSO ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ

  1. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)

สภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงและเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดทิศทางของกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ประกอบด้วยหลายประการ เช่น วัฒนธรรมองค์กร  นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติของบุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศเป็นต้น

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)

องค์กรจะต้องพิจารณาการกำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม

  1. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กร และเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เช่น นโยบายการบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้นๆ และเพื่อให้ผู้บริหารสามารพิจารณากำหนดแนวทางและนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

  1. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

         การประเมินความเสี่ยง เป็นการวัดระดับความรุนแรงของความเสี่ยงเพื่อพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)

  1. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)

เป็นการดำเนินการหลังจากที่องค์กรสามารถระบุความเสี่ยงขององค์กรและประเมินระดับความเสี่ยงแล้ว โดยจะต้องนำความเสี่ยงไปดำเนินการเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและลดระดับความรุนแรงของผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ด้วยวิธีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมที่สุดและคุ้มค่ากับการลงทุน

  1. กิจกรรมควบคุม (Control Activities)

การกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่างๆ เพื่อช่วยลดหรือควบคุมความเสี่ยงเพื่อสร้างความมั่นใจจะสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างถูกต้องและทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ป้องกันและลดระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้

  1. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงต่อไปตามกรอบขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด

  1. การติดตามประเมินผล (Monitoring)

องค์กรจะต้องมีการติตามผลเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานว่าเหมาะสมและสามารถจดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

 

More

การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เป็นหนึ่งในเทคนิคและวิธีการการบริหารองค์กรสมัยใหม่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และทุกส่วนงานให้ความสำคัญ เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ วางแผนและพิจารณาหาแนวทางในการป้องกันหรือจัดการกับความเสี่ยงของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ สร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงให้กับมหาวิทยาลัย เป็นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่มุ่งเน้นให้พัฒนาระบบราชการไทยให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล.

More

กิจกรรมที่ผ่านมา

Image 02

ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อ.ส.พ. ครั้งที่ 2/2558เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นางลัดดาวัลย์ สินธุรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) . More...

Image 03

ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์ อ.ส.พ. ครั้งที่ 5/2558เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 นางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) . More...

Image 04

ประชุมคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ครั้งที่ 7/2558เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 นางมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ประธานคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์. More...