ดร.รัชดา พงษ์สัตยาพิพัฒน์ ผอ. สำนักวิจัยและอนุรักษ์ |
1. รับผิดชอบงานของสวนพฤกษศาสตร์ทางด้านวิชาการ อาทิ การสำรวจรวบรวมพรรณไม้ภายในประเทศ การจำแนกชนิดพันธุ์พืช การตรวจสอบรายชื่อพรรณไม้ การจัดทำตัวอย่างแห้ง การจัดทำป้ายชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้ที่ปลูกอยู่ในสวน การรวบรวมข้อมูลพืชและจัดทำฐานข้อมูลพืช และการแปลข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ให้สามารถสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้ง่ายแก่ผู้เข้าเยี่ยมชม
2. รับผิดชอบงานวิจัยทางพฤกษศาสตร์และงานวิจัยสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอาทิ งานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช งานวิจัยพืชเศรษฐกิจ งานวิจัยพืชสมุนไพร งานวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชป่าหรือพืชพื้นเมืองดั้งเดิมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ งานวิจัยผลิตภัณฑ์จากพืช โดยเฉพาะงานวิจัยพื้นฐาน ทางด้านสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา เซลพันธุกรรม พฤกษเคมี และพฤกษอนุกรมวิธานเพื่อศึกษาวิวัฒนาการของพืช ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพันธุ์ เพื่อช่วยในงานการจัดจำแนกพันธุ์พืช
3. รับผิดชอบงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงดำเนินการจัดหาตัวอย่างและรวบรวมวัสดุพิพิธภัณฑ์ และสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้จากธรรมชาติมาตกแต่ง และสื่อความหมายด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่สาธารณชน
4. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านพืชโดยนักวิชาการของสำนักฯ อาทิ เป็นวิทยากรบรรยาย จัดประชุมวิชาการ ฝึกอบรมนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น จัดแสดงนิทรรศการ และพิมพ์เอกสารวิชาการด้านพืชและสวนพฤกษศาสตร์ ต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชน
5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาทั้งใน และนอกประเทศ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนข้อมูล และชนิดพันธุ์ พืชบางชนิด รวมทั้งการทำงานวิจัยร่วมระหว่างนักวิชาการของสำนักฯ และสถาบันอื่นๆ
6. ปฎิบัติงานตามที่ อ.ส.พ. มอบหมายการแบ่งส่วนงานภายใน
สำนักวิจัยและอนุรักษ์ แบ่งส่วนเป็น 5 ส่วนงาน ประกอบด้วย
1. ส่วนบริหารจัดการโครงการวิจัย- งานห้องปฏิบัติการ
2. ส่วนหอพรรณไม้
- งานจัดการตัวอย่างพืช
- งานจัดการทะเบียนพืช
3. ส่วนพิพิธภัณฑ์แมลง
- งานจัดการตัวอย่างแมลง
- งานจัดการทะเบียนแมลง
4. ส่วนรวบรวมพันธุ์และจัดการพืชมีชีวิต
- งานรวบรวมและจัดทำทะเบียนพืชมีชีวิต
- งานโรคพืชและอนุบาลพันธุ์ไม้
- งานดูแลพันธุ์พืชมีชีวิต
5. ส่วนบริหารวิชาการ
- งานบริการวิชาการและต่างประเทศ
- งานศูนย์ข้อมูลพืชและห้องสมุด